วัตถุประสงค์ของบล็อกนี้

เพื่อประกอบการเรียนการสอนรายวิชาอินเตอร์เน็ตเพื่อการสื่อสารในชีวิตประจำวัน และเป็นเเหล่งรวบรวมความรู้ต่างๆที่น่าสนใจ

วันอังคารที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2555

นอนไม่พอกลไกสมองเปลี่ยน มองโลกดีไป กล้าได้กล้าเสียเกิน

นอนไม่พอกลไกสมองเปลี่ยน มองโลกดีไป กล้าได้กล้าเสียเกิน

การนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพออาจทำให้คนเรากล้าได้กล้าเสียมากขึ้น เนื่องจากสมองส่วนที่ประเมินผลบวกทำงานหนักกว่าสมองส่วนที่ประเมินผลลบ

เอเอฟพี – ผลศึกษาพบคนที่นอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอมีแนวโน้มตัดสินใจโดยที่มองโลกแง่ดี เกินความเป็นจริง ทำให้กล้าเสี่ยงในเกมพนันมากขึ้น

งานศึกษาที่ตีพิมพ์อยู่ในวารสารนิวโรไซนส์ แสดงหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ในสิ่งที่ผู้จัดการกาสิโนมากมายรู้มานานแล้วว่า แสงไฟกะพริบและเสียงกังวานใสของเครื่องสล็อตแมชีนกระตุ้นให้นักพนันหยอด เหรียญเดิมพันชนิดหยุดไม่ได้จนกว่าเงินจะหมด

นักวิจัยอเมริกันใช้เครื่องเอ็กซเรย์ด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (เอ็มอาร์ไอ) ตรวจสอบสมองของผู้ที่นอนหลับไม่สนิทและพักผ่อนไม่เพียงพอ เทียบกับผู้ที่หลับเต็มอิ่มตลอดคืน

ผลการสแกนแสดงให้เห็นว่าในกลุ่มคนนอนน้อย สมองส่วนที่ประเมินผลลัพธ์แง่บวกทำงานหนักขึ้น ขณะที่สมองส่วนที่ประเมินผลแง่ลบทำงานเนือยลง

“เมื่อใช้ภารกิจที่ต้องมีการตัดสินใจที่อิงกับความเสี่ยง เราพบว่าการอดนอนทำให้คนส่วนใหญ่มีความโน้มเอียงจากการหลีกเลี่ยงการเสีย เงินไปหาการลองเสี่ยงเพื่อให้ได้เงินมากขึ้น” นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยดุ๊คในนอร์ธแคโรไลนากล่าว

การศึกษาใช้อาสาสมัครวัยผู้ใหญ่สุขภาพดี 29 คน อายุเฉลี่ย 22 ปี โดยอาสาสมัครเหล่านี้ถูกขอให้ทำภารกิจที่ต้องตัดสินใจเกี่ยวกับเรื่องเงินๆ ทองๆ หลังจากได้นอนพักผ่อนตามปกติหนึ่งคืน และครั้งที่ 2 หลังจากนอนหลับไม่เพียงพอ

นักวิจัยเผยว่า การอดนอน ดูเหมือนทำให้เกิด อคติแง่บวก ตัวอย่าง เช่นอาสาสมัครตัดสินใจราวกับว่าสิ่งที่ทำจะเกิดผลดี (ได้รับรางวัลที่มีมูลค่าสูงขึ้น) และแนวโน้มที่จะได้ผลลบน้อยมาก (หรือมีอันตรายน้อยลง)

ไวน็อด เวนคาทราแมน จากคณะจิตวิทยาและประสาทวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยดุ๊ค ซึ่งเป็นแกนนำการจัดทำรายงาน ระบุว่า การดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน สูดอากาศบริสุทธิ์ หรือออกกำลังกาย ไม่เพียงพอต่อสู้ผลลัพธ์จากความอ่อนเพลียหลังอดนอน

“นักพนันที่นอนดึกต้องต่อสู้ไม่เพียงกับโอกาสที่เป็นได้น้อยมากของอุปกรณ์การพนัน แต่ยังต้องต่อสู้กับแนวโน้มของสมองจากการอดนอนที่โน้มเอียงไปที่การได้มากกว่าเสีย”

ขอบคุณข้อมูล จิตวิทยาทั่วไป จาก ASTVผู้จัดการออนไลน์ 24 เมษายน 2554

ที่มา http://blog.eduzones.com/snowytest/85088

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น