วัตถุประสงค์ของบล็อกนี้

เพื่อประกอบการเรียนการสอนรายวิชาอินเตอร์เน็ตเพื่อการสื่อสารในชีวิตประจำวัน และเป็นเเหล่งรวบรวมความรู้ต่างๆที่น่าสนใจ

วันอังคารที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2555

บันทึก23กค2555 ผู้ป่วยลาตาย ตอนที่2

โดยนายแพทย์ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์

หนังเรื่อง Puncture นำแสดงโดย คริส อีแวนส์ เล่าเรื่องปี1998เมื่อครั้งโรคเอดส์เริ่มคุกคามสหรัฐอเมริกา หนังเปิดเรื่องพยาบาลห้องฉุกเฉินคนหนึ่งทำเข็มตำตัวเอง หลังจากนั้นไม่นานเธอป่วยด้วยโรคเอดส์ เธอตั้งทนายฟ้องหน่วยงานรัฐบาลแห่งหนึ่งที่ฝ่าฝืนกฎหมายการผูกขาดด้วยการ สั่งซื้อหลอดฉีดยาพร้อมเข็มจากบริษัทเดียว ทั้งที่มีบริษัทอื่นที่ผลิตหลอดฉีดยาพร้อมเข็มนิรภัยออกใช้แล้วด้วยต้นทุน ที่สูงกว่าเข็มละ5เซนต์ หลอดฉีดยาแบบใหม่จะดีดเข็มกลับทันทีที่ดึงออกจาก ผิวหนังของผู้ป่วย

ตอนที่พยาบาลท่านนี้ล้มป่วยระยะสุดท้าย เธอเล่าว่าเธอเพิ่งจะรู้ว่าปฏิกิริยาทั้ง5ของKubler-Rossเป็นเรื่องจริงคือ shock,denial,anger,depressed,accept เธอเพิ่งรู้ด้วยว่าปฏิกิริยาทั้ง5ไม่เพียงเกิดสลับไปมาแต่บางครั้งเกิดพร้อมๆกันในคราวเดียว

เวลาผู้ป่วยสับสนอลหม่าน ที่เราควรทำคือช่วยผู้ป่วยเรียงลำดับความคิดของตนเองอย่างเป็นระบบ วิธีหนึ่งคือช่วยเขาพูดออกมา

เวลาพบผู้ป่วยมีความคิดฆ่าตัวตาย(suicidal idea) เราควรช่วยเขาสำรวจความคิดของตนเองให้แน่ใจว่าเขาต้องการอะไรกันแน่ ระหว่างความปรารถนาที่จะนอนหลับยาวๆสักครั้ง ความปรารถนาที่จะหายไปจากโลก ความปรารถนาที่จะตายแต่ไม่ได้คิดจะทำร้ายตัวเอง ความปรารถนาที่จะทำร้ายตนเองแต่ไม่ถึงตาย หรือความปรารถนาที่จะฆ่าตัวตาย

นอกจากนี้เราควรช่วยให้เขาหวนระลึกถึงความสัมพันธ์ที่เขามีต่อบุคคลต่างๆ เชื่อกันว่า(ซึ่งมีแต่คนที่ฆ่าตัวตายสำเร็จไปแล้วจะรู้ว่าความเชื่อนี้จริงหรือเปล่า)คนที่ฆ่าตัวตายสำเร็จ พูดง่ายๆว่า กระโดดลงมาจากตึกสูงได้ เขาต้องยอมรับสภาวะที่ไม่มีสัมพันธ์กับใครอีกแล้วในโลก ไม่ว่าจะเป็นพ่อแม่ คนรัก ลูก หมา หรืออดีต แม้กระทั่งอนาคต การชวนให้เขาระลึกถึงความสัมพันธ์เหล่านี้อีกครั้งอาจจะช่วยประวิงเวลาไปได้อีกสักพัก




เวลาอีกสักพักนั้นสำคัญ ดังที่ทราบกันว่า(และควรบอกให้ผู้ป่วยทราบด้วย)ความคิดฆ่าตัวตายเป็นอะไรที่ไปๆมาๆได้ ช่วงที่มาหากไม่ลงมือก็จะผ่านไป หากช่วงที่มามีปืนพร้อมในมือก็อาจจะไม่ผ่านไปแต่ลงนรกแทน ดังนั้นเวลาอีกสักพักเป็นเรื่องสำคัญ การบอกผู้ป่วยให้รู้ความจริงข้อนี้สามารถช่วยชีวิตผู้ป่วยได้ ให้เขารู้จักอดทนพาตนเองผ่านความคิดนั้นไป

เวลาอีกสักพัก เป็นเวลาที่จิตแพทย์รอให้ยาที่ใช้รักษาออกฤทธิ์ ในกรณีเร่งด่วน แพทย์โรงพยาบาลจิตเวชอาจจะตัดสินใจรักษาด้วยไฟฟ้าเพราะเป็นวิธีหยุดความคิดฆ่าตัวตายที่เร็วและชะงัด แต่ถ้าไม่อยากใช้วิธีนี้ก็ต้องรู้จักใช้ยาให้เป็น ยาอะไรที่ออกฤทธิ์เร็วที่สุด คือออกฤทธิ์สกัดความคิดฆ่าตัวตาย มิใช่ออกฤทธิ์ต้านอารมณ์เศร้า สองอย่างนี้ไม่เหมือนกัน

หลังจากผมสำรวจความคิดผู้ป่วยและช่วยผู้ป่วยสำรวจความคิดตนเองดังที่เล่าให้ฟังในตอนที่1แล้ว จึงเป็นขั้นตอนให้ความมั่นใจแก่ผู้ป่วยว่ายาช่วยได้ และขอให้เขากินยาและมาตามนัด

ผู้ป่วยคิดฆ่าตัวตายส่วนใหญ่ไม่ได้มีปัญหาอะไร ยกเว้นผู้ป่วยที่ตั้งใจมาลาตายจริงๆก็จะยุ่งหน่อย ผู้ป่วยมักพูดว่าจะไม่เอายาและไม่เอาใบนัด เขามาลา

ขั้นตอนนี้ผมจะสุภาพ สงบ และรักษาtherapeutic relationshipคือความสัมพันธ์เชิงรักษาให้มั่นคง ยืนยันด้วยคำพูดที่สุภาพและจริงใจว่าผมมีหน้าที่เขียนใบสั่งยาและจ่ายยาแก่เขา ผมขอให้เขาไปเบิกยาและกินยาตามสั่ง

ผู้ป่วยอาจจะยังพูดอะไรต่อมิอะไรในขั้นตอนนี้ รวมทั้งยืนยันว่าไม่เอายา

ผมอยู่ในtherapeutic relationship พูดซ้ำอีกครั้งว่าผมมีหน้าที่ให้ใบสั่งยาแก่เขา จากนั้นผมจะลุกเดินอ้อมโต๊ะไปที่ผู้ป่วยและยื่นใบสั่งยาแก่เขาด้วยความสุภาพ จะด้วยกลไกทางจิตหรือด้วยวัฒนธรรมไทยก็ตาม ร้อยทั้งร้อยยื่นมือมารับใบสั่งยาไป

จากนั้นผมเดินกลับมานั่งโต๊ะและเริ่มเขียนใบนัด เป็นไปได้ว่าผู้ป่วยจะพูดซ้ำว่าไม่ต้องการใบนัด แต่เนื่องจากเราอยู่ใน therapeutic relationship ผมจึงเขียนใบนัดและยื่นให้ข้ามโต๊ะ จำได้ว่าก็ยื่นมือมารับทุกราย มีคนเดียวที่ผมต้องลุกเดินอ้อมโต๊ะไปให้เขากับมืออีก เขาก็ยื่นมือมารับแต่โดยดี

จากนั้นผมจะนั่งลง มองหน้าผู้ป่วย ทำให้แน่ใจว่าเขากำลังมองหน้าเรา แล้วผมพูดว่า “หมอขอให้กินยานี้7วัน แล้วมาตามนัด หมอจะรอคุณสมชายที่นี่ เช้าวันจันทร์ตอนเก้าโมงนะครับ” คำสำคัญคือผมจะรอคุณ บอกชื่อของเขาให้เรียบร้อย ที่นี่ เก้าโมงเช้า (ความหมายคือเรามีพันธะผูกพันแล้ว ถ้าคิดจะตายใน7วันนี้ เขาต้องตัดพันธะนี้ทิ้งให้ได้ด้วย)

สำหรับวิชาชีพจิตแพทย์และนักจิตวิทยา ควรรู้ว่าtherapeutic relationshipเป็นสัมพันธภาพที่ตัดยาก ผมจึงพร่ำสอนทุกคนให้เคร่งครัดกับเรื่องนี้ หากใครยังชอบสร้างsocial relationshipคือความสัมพันธ์เชิงสังคมกับผู้ป่วยก็คงต้องหาวิธีทำงานและแก้ปัญหาอีกแบบ แต่ถ้าพูดกันอย่างไม่เกรงใจ ความสัมพันธ์เชิงสังคมเป็นunethical จริยธรรมวิชาชีพข้อแรกคือFirst do no Harm การที่เราไม่รักษาtherapeutic relationshipเป็นการทำร้ายผู้ป่วยเพราะtherapeutic relationshipเป็นเครื่องมือของเรา เรามักเป็นฝ่ายทำลายเครื่องมือนี้ทิ้งเอง

ผู้ป่วยอาจจะพูดอะไรต่ออีกหลังจากได้ใบสั่งยาและใบนัดแล้ว ขั้นตอนนี้ผมอาจจะฟังอีก1-2ประโยคแต่ไม่ตอบสนองอะไรแล้ว ผมจะเดินไปเปิดประตูให้ผู้ป่วยและแสดงให้เห็นหรืออาจจะพูดเชิญเขาออกจากห้องไปพบพยาบาลที่หน้าห้องได้ การสนทนาสำหรับวันนี้ปิดแล้ว ผู้ป่วยจะเรียนรู้ว่าเขากำลังพบtherapeutic relationshipที่แข็งแรง หมอไม่ใช่ใครที่เขาเคยรู้จัก หมอจริงใจ รับฟัง พร้อมช่วยเหลือ และเป็นกลาง(neutral)

โดยทั่วไปภารกิจเขียนและยื่นใบนัดเป็นของพยาบาลหน้าห้อง แต่ในกรณีเช่นนี้ผมเขียนเองและยื่นเองดังที่เล่ามา

แน่นอนว่าผมให้ยากินด้วย อาจารย์ชั้นผู้ใหญ่ที่ล่วงลับไปหมดแล้วสอนผมที่โรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยาสอน ผมว่าเราควรจ่ายยาอะไรสำหรับผู้ป่วยที่คิดฆ่าตัวตายอย่างรุนแรง การจ่ายยานี้เป็นtacit อาจารย์เคยใช้ได้ผล ผมใช้มาอีก30ปีก็ได้ผล ไม่มีเขียนไว้ในตำราแพทย์ใดๆ

ที่มา http://www.gotoknow.org/blogs/posts/495701

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น