วัตถุประสงค์ของบล็อกนี้

เพื่อประกอบการเรียนการสอนรายวิชาอินเตอร์เน็ตเพื่อการสื่อสารในชีวิตประจำวัน และเป็นเเหล่งรวบรวมความรู้ต่างๆที่น่าสนใจ

วันอังคารที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2555

จิตวิทยาเชิงบวกกับบทบาทในการแก้ไขปัญหาสังคมไทย

   หากพูดถึงจิตวิทยา คนส่วนใหญ่มักจะนึกถึงซิกมันด์ ฟรอยด์ (1856-1939) แพทย์และนักประสาทวิทยาชาวออสเตรีย ประสบการณ์การวิจัยและการทำงานของฟรอยด์เกี่ยวกับสรีรวิทยาของสมองและคนไข้ที่ทุกข์ทรมานจากอาการฮิสทีเรีย ทำให้เขาสนใจศึกษาถึงอิทธิพลของจิตใต้สำนึกที่มีผลต่อพฤติกรรมของมนุษย์ และเรื่องความฝัน ซึ่งเขามองว่าเป็นการสะท้อนของจิตใต้สำนึกของมนุษย์ที่เก็บกดไว้ตั้งแต่วัยเด็ก และหากย้อนเวลาไปไกลถึงสมัยของวิลเฮล็ม วุนด์น (1832-1920)นักปรัชญาชาวอเมริกันซึ่งผลักดันให้มีการศึกษาเรื่องการทำงานของความคิดจิตใจ ความหวัง ความรัก ความปรารถนา และความกลัวที่อยู่ในสมองของคนมากขึ้น ก็ยิ่งพบว่า คนเราให้ความสนใจเรื่องจิตวิทยามานานกว่าร้อยปี ในส่วนของประเทศไทยนั้น แม้ระบบการศึกษาของเราจะมุ่งเน้นความรู้ทางวิชาชีพ แต่ก็ปัจจุบันคนไทยกำลังตื่นตัวเรื่องจิตวิทยาสมัยใหม่กันอย่างมาก โดยเฉพาะ จิตวิทยาเชิงบวก (Positive Psychology)  
                ปัจจุบันพบว่า วิชาจิตวิทยาเชิงบวก เป็นวิชายอดนิยมที่นักศึกษามหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดลงทะเบียนเรียนมากเป็นอันดับต้นๆ ไม่ต่ำกว่า 800คน ในแต่ละภาคเรียน นั่นก็เพราะกระแสการสร้างความสุขและความสมดุลในชีวิตกำลังเบ่งบานในโลกยุคใหม่ โดยเฉพาะในยามที่วิกฤตเศรษฐกิจลุกลามไปทั่วโลกเช่นนี้ ผู้คนต่างก็มีความเครียดในการทำงานและการดำเนินชีวิต เราจึงไม่แปลกใจที่จะเห็นองค์กรต่างๆ ตื่นตัวเรื่องการปลูกฝังแนวคิดเชิงบวกเพื่อให้ชีวิตมีความสุขและพร้อมจะรับมือกับวิกฤตการณ์ในปัจจุบัน จิตวิทยาเชิงบวกมีเป้าหมายหลักเพื่อช่วยให้ผู้คนรู้จักตนเอง รู้จักชีวิต รู้ว่าคิดอย่างไรให้มีความสุข เพื่อให้สามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขมากขึ้น
                ที่ประเทศอังกฤษ มีการริเริ่มใช้จิตวิทยาเชิงบวก ภายใต้รหัสวิชา “สร้างความสุข” ให้กับเด็กนักเรียนระดับอายุ 11ปี เพื่อให้เด็กมีอาวุธรับมือกับความเครียดและความทุกข์ วิชานี้ได้ทดลองสอนให้กับนักเรียนในโรงเรียนรัฐบาลราว 2,000คน เพื่อให้เด็กใช้เป็นเครื่องมือลดความทุกข์ ลดพฤติกรรมต่อต้านสังคม และสร้างเสริมความมั่นใจในตัวเอง เพื่อให้เด็กรู้จักสร้างความมั่นใจและสามารถรับมือกับความคิดด้านลบ รวมทั้งช่วยให้เด็กๆ ได้แสดงความคิดเห็นของตัวเองอย่างเปิดเผย ผลการทดลองออกมาเป็นที่น่าพอใจและสามารถช่วยให้เด็กมีผลการเรียนดีขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับสิ่งที่ บี เอฟ สกินเนอร์ (1904-1990) ผู้เชี่ยวชาญด้านพฤติกรรมบำบัดเคยกล่าวไว้ว่า สภาพแวดล้อมเป็นตัวกำหนดสิ่งที่เราเป็นอยู่ ดังนั้นเราจะต้องสร้างสภาพแวดล้อมที่ช่วยให้คนมีพฤติกรรมสร้างสรรค์และมีความคิดในเชิงบวก
            ย้อนกลับมาที่ประเทศไทยของเรา แม้เรื่องจิตวิทยาเชิงบวกยังไม่ได้ถูกบรรจุให้เป็นวาระเร่งด่วนของประเทศ แต่ปัจจุบัน องค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนต่างให้ความสนใจในเรื่องนี้อย่างมาก เพราะจิตวิทยาเชิงบวกจะช่วยเสริมจุดแข็งและลบเลือนจุดอ่อนของคนเราได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ จิตวิทยาเชิงบวกยังมีความสำคัญและเป็นประโยชน์มากทั้งต่อปัจเจกชน และการพัฒนาชุมชนและประเทศชาติ  นักจิตวิทยาหลายคนของไทยกล่าวว่าจิตวิทยาเชิงบวกสามารถพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ (EQ) ซึ่งจะช่วยพัฒนาการบุคคลอย่างมีวุฒิภาวะและแก้ปัญหาทางอารมณ์ได้อย่างสร้างสรรค์ เป็นความฉลาดที่แตกต่างไปจากความฉลาดทางปัญญา (IQ) ที่มักเน้นความสามารถทางตรรกวิทยา  นอกจากนี้ จิตวิทยาเชิงบวกจะช่วยให้คนไทยสามารถรับมือกับวิกฤตในยุคนี้ได้ดีอย่างคาดไม่ถึง ... วิกฤติสามารถกระตุ้นให้คนค้นพบความหมายของชีวิต (Meaning of Life) ถึงขั้นพลิกวิถีการใช้ชีวิต มุ่งไปสู่การอยู่ดีมีสุข (Well-being) ที่แท้จริงได้ อีกทั้งยังนำไปสู่การตั้งคำถามเชิงบวกกับตัวเองในการค้นหาเป้าประสงค์และคุณค่าของการมีชีวิตอยู่ เพื่อกำหนดทิศทางและแผนการในการใช้ชีวิตที่เหลืออยู่ให้มีประสิทธิภาพและมีความหมาย  ซึ่งคำถามดังกล่าวได้แก่
              1. ความพึงพอใจในชีวิต (Pleasure)  เช่น เหตุการณ์อะไรที่ทำให้ฉันรู้สึกเป็นสุขและสงบอย่างมาก? หรือฉันรู้สึกสุขสดชื่นมีพลัง เมื่อได้ทำอะไรบ้าง?
              2. จุดประสงค์ของการมีชีวิต (Purpose) เช่น ฉันอยากทำอะไรในช่วงชีวิตที่เหลืออยู่?  ฉันมาอยู่ในโลกนี้เพื่ออะไรและเพื่อใคร?
              3. การจัดสัดส่วนให้สมดุล (Proportion) เช่น ฉันควรจะปรับเปลี่ยนชีวิตการทำงาน ครอบครัว และชีวิตส่วนตัวให้มีความสมดุลได้อย่างไร?
จากคุณประโยชน์มากมายข้างต้นจึงเป็นเหตุผลที่ทำให้นักจิตวิทยาของไทยเชื่อว่า จิตวิทยาเชิงบวกจะมีบทบาทมากขึ้นในการแก้ปัญหาสังคมไทย เพราะสามารถตอบสนองสภาพสังคมในปัจจุบันที่ผู้คนมักแสวงหาความสุข แต่ไม่รู้ว่าความสุขที่แท้จริงคืออะไร???

บทความจิตวิทยา

ควรใช้จิตวิทยามาช่วยแก้ปัญหามนุษย์และสังคมไทยให้มากขึ้น

โดย : รศ.วิทยากร เชียงกูล
 จิตวิทยาหรือการศึกษาเรื่องความคิดจิตใจและพฤติกรรมของมนุษย์ เป็นวิชาที่สำคัญสำหรับชีวิตของเราทุกคน
แต่เรากลับมีโอกาสได้เรียนรู้น้อยมาก เพราะระบบการศึกษาของไทยเน้นความรู้ทางวิชาชีพ เพื่อสร้างแรงงานไปรับใช้การพัฒนาเศรษฐกิจทุนนิยมอุตสาหกรรมมากกว่าการพัฒนาคนอย่างสมบูรณ์
วิชาจิตวิทยาสมัยใหม่เริ่มมาราวร้อยกว่าปีที่แล้ว ตั้งแต่สมัย วิลเฮล็ม วุนด์น (1832-1920) ชาวเยอรมนี และ วิลเลียม เจมส์ (1842-1910) นักปรัชญาชาวอเมริกัน พวกเขาเสนอให้ เราควรศึกษาเรื่องการทำงานของความคิดจิตใจเป็นสาขาวิชาต่างหากจากวิชาปรัชญาและสรีรวิทยา โดยควรใช้การทดลองหลักฐานเชิงประจักษ์และเน้นความคิดจิตใจของคนเรา ทั้งความหวัง ความรัก ความปรารถนา ความกลัว ฯลฯ ที่อยู่ในสมองของเรามากขึ้น
คนที่สร้างผลงานเขียนทำให้วิชาจิตวิทยาเป็นที่รู้จักมากขึ้น คือ ซิกมุนด์ ฟรอยด์ (1856-1939) แพทย์และนักประสาทวิทยาชาวออสเตรีย ประสบการณ์การวิจัยและการทำงานของเขาเกี่ยวกับสรีรวิทยาของสมองและคนไข้ที่ทุกข์ทรมานจากอาการ “ฮิสทีเรีย” ทำให้ฟรอยด์สนใจศึกษาถึงอิทธิพลของจิตใต้สำนึกต่อพฤติกรรมของมนุษย์และเรื่องความฝัน ซึ่งเขามองว่าเป็นการสะท้อนของจิตใต้สำนึกของมนุษย์ที่เก็บกดไว้ตั้งแต่วัยเด็ก
งานของฟรอยด์ส่วนใหญ่ได้มาจากการสังเกตคนไข้ การตีความ และการพิจารณาใคร่ครวญด้วยตนเอง ไม่ใช่การวิจัยอย่างเป็นวิทยาศาสตร์แท้ๆ ซึ่งในสมัยนั้นยังมีข้อจำกัด ฟรอยด์เป็นนักคิดริเริ่มและเป็นคนเขียนหนังสือเก่ง การที่เขากล้าเสนอเรื่อง การเก็บกดและจิตใจสำนึกในเรื่องเพศ ซึ่งเป็นเรื่องที่สังคมยุคนั้นถือเป็นเรื่องต้องห้าม ทำให้หนังสือของเขาได้รับความสนใจอย่างกว้างขวาง คนหลายคนสนใจเข้ามาศึกษาเป็นจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยา เพราะได้แรงบันดาลใจจากอ่านหนังสือของฟรอยด์
แม้สิ่งที่ฟรอยด์เสนอหลายอย่างจะถูกพิสูจน์ต่อมาภายหลัง (จากการวิจัยอย่างเป็นวิทยาศาสตร์ได้มากขึ้น) ว่า ผิดพลาดคลาดเคลื่อน แต่ข้อเสนอของฟรอยด์ซึ่งเน้นเรื่องจิตใต้สำนึกมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมมนุษย์ รวมทั้งวิธีการบำบัดคนไข้สุขภาพจิตแบบที่จิตแพทย์นั่งพูดคุยกับคนไข้ ให้คนไข้ระบายความคิดความเข้าใจของเขาออกมาเพื่อหาความเข้าใจและทางออกร่วมกันเป็นวิธีการบำบัดที่มีอิทธิพลต่อวงการวิชาจิตวิทยาและจิตเวช นักจิตวิทยารุ่นหลังฟรอยด์ ถ้าไม่เป็นผู้สนับสนุนก็เป็นผู้คัดค้านฟรอยด์ หรือเป็นพวกฟรอยด์ใหม่ (Neo-Freudians) หรือผู้ก้าวข้ามพ้น
ฟรอยด์ (Post-Freudians)
นักจิตวิทยาที่เคยร่วมงานกับฟรอยด์ เช่น คาร์ล จุง (1875-1961) อัลเฟรด แอดเลอร์ (1870-1930) แยกตัวมาคัดค้านฟรอยด์ในแง่ที่ว่าฟรอยด์เน้นเรื่องจิตใต้สำนึกเก็บกดเรื่องเพศมากไป แต่พวกเขาเห็นด้วยในแง่ที่ว่าจิตใต้สำนึกอื่นๆ เช่น จิตสำนึกรวมหมู่ (Collective Unconscos) ซึ่งเป็นผลมาจากวิวัฒนาการของมนุษย์ในฐานะสัตว์สังคม (คาร์ล จุง) และจิตใต้สำนึกในการมุ่งสร้างสิ่งที่ดีขึ้น เพื่อชดเชยสิ่งที่เป็นที่ต้องการขาดแคลนตั้งแต่วัยเด็ก (แอดเลอร์) มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมมนุษย์
กลุ่มที่คัดค้านทฤษฎีฟรอยด์ คือ สำนักพฤติกรรมนิยม (Behaviorism) ผู้เสนอว่า พฤติกรรมของมนุษย์เกิดจากปฏิกิริยาตอบสนองต่อแรงกระตุ้น เงื่อนไขต่างๆ ที่มนุษย์ได้รับ พฤติกรรมเป็นเรื่องที่สามารถสังเกตได้โดยตรงและตรวจสอบอย่างเป็นวิทยาศาสตร์ได้ ซึ่งตรงกันข้ามกับประสบการณ์ภายในจิตใจที่ไม่สามารถตรวจสอบอย่างเป็นวิทยาศาสตร์ได้
บี เอฟ สกินเนอร์ (1904-1990) สำนักพฤติกรรมนิยมได้เสนอว่า สภาพแวดล้อมเป็นตัวกำหนดสิ่งที่เราเป็นอยู่และเราเปลี่ยนพฤติกรรมหรือการกระทำของเรา ตามที่เราเรียนรู้ว่านั่นเป็นสิ่งที่ดีต่อการอยู่รอดของเรา ถ้าหากเราต้องการสร้างโลกที่ดีขึ้น เราจะต้องสร้างสภาพแวดล้อมที่ช่วยให้คนมีพฤติกรรมสร้างสรรค์และมีจริยธรรมมากขึ้น นั่นก็คือ เราควรส่งเสริมการให้รางวัลการทำดีและพฤติกรรมการทำเพื่อส่วนรวม แทนที่จะให้รางวัลสำหรับพฤติกรรมแบบอื่นๆ
ในคริสต์ทศวรรษ 1960 นอม ชอมสกี้ (1928) คัดค้านว่า ทฤษฎีพฤติกรรมนิยมมีจุดอ่อนที่เน้นการมองเงื่อนไขปัจจัยภายนอกด้านเดียวมากเกินไป ทั้งๆ ที่บทบาทของความคิดจิตใจเป็นเรื่องที่ควรศึกษาอย่างเป็นวิทยาศาสตร์ได้
นักจิตวิทยาแนวเอกซิสเตนเชียลลิสม์-มนุษยนิยม (Existentiaist-Humanistic Psychology) วิจารณ์ทั้งทฤษฎีพฤติกรรมนิยมและจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์ นักจิตวิทยาแนวนี้เสนอให้มนุษย์เรียนรู้จักตนเองพิจารณาความเป็นคนทั้งหมด ไม่ใช่แค่บุคลิกภาพหรือส่วนที่มีบทบาทในการเรียนรู้เป็นส่วนๆ
ในทศวรรษ 1960 นักจิตวิทยากลุ่ม จิตวิทยาการรู้คิด (Cognitive Psychology) ได้เปิดเผยให้เห็นว่า ความคิดจิตใจของมนุษย์ คือ การประมวลการรับรู้ข้อมูลและเครื่องแปลที่ยิ่งใหญ่ในการสร้างแบบแผนและการรับรู้ต่อโลกที่อยู่ภายนอกเรา เป็นผู้กำหนดแผนที่ของความจริงตามที่เราแต่ละคนรับรู้ ความคิด (Thoughts) ของคนเราเป็นตัวกำหนดอารมณ์ (Emotion) ของเรา ไม่ใช่ในทางกลับกัน ถ้าเราเปลี่ยนวิธีคิดของเรา เช่น การคิดในทางบวกอย่างสมจริง การคิดในทางสร้างสรรค์ เราจะสามารถลดปัญหาความซึมเศร้า หรือสามารถควบคุมพฤติกรรมของเราได้ดียิ่งขึ้น
สำนัก จิตวิทยาแนวบวก (Positive Psychology) พยายามเปลี่ยนทิศทางของวิชาจิตวิทยา ซึ่งก่อนหน้านั้น เน้นแต่เรื่องปัญหาความป่วยไข้ทางจิต มาศึกษาว่ามีปัจจัยอะไรทำให้คนมีความสุข มองโลกในแง่ดีและมีความคิดสร้างสรรค์ในทางบวก สำนักจิตวิทยาทางบวกเสนอว่า ทั้งความคิดและอารมณ์ต่างมีอิทธิพลต่อกันและกัน
สำนักจิตวิทยาวิพากษ์ (Critical Psychology) จากมหาวิทยาลัยเบอร์ลิน เห็นว่าการศึกษาวิชาจิตวิทยาที่จะเข้าใจชีวิตและสังคมได้อย่างแท้จริง ต้องศึกษาปัจจัยทางเศรษฐกิจ การเมือง สังคม วัฒนธรรม ที่มีผลกระทบต่อความคิดจิตใจของคนอย่างมีปฏิสัมพันธ์ต่อกันอย่างเชื่อมโยงเป็นระบบองค์รวม คือ ต้องมองไปถึงการเปลี่ยนแปลงที่ระบบสังคมหรือสภาพแวดล้อมทั้งหมดด้วย ไม่ใช่มุ่งเปลี่ยนแปลงที่ความคิดจิตใจของปัจเจกชนด้านเดียว
น่าเสียดายที่นักวิชาการด้านจิตวิทยาของไทยยังมีน้อยเกินไป และที่มีอยู่ก็ยังคิดและทำงานในกรอบกระแสหลักแบบเก่ามากเกินไป วิธีการเลี้ยงดูลูกของคนไทย ระบบการศึกษาไทย พัฒนาการทางอารมณ์และจิตสำนึกคนไทย รวมทั้งผู้นำส่วนใหญ่ยังคงมีปัญหาอยู่มาก เราควรช่วยกันกระตุ้นความสนใจศึกษาเรื่องจิตวิทยาอย่างเร่งด่วนและกว้างขวาง เพื่อที่จะได้พัฒนาจิตใจ คนไทยให้ฉลาด มีวุฒิภาวะเพิ่มขึ้น เราจะได้แก้ไขปัญหาความขัดแย้งในสังคมได้อย่างมีเหตุผลและสร้างสรรค์ มองการณ์ไกลเพิ่มขึ้น

พุทธศาสนากับจิตวิทยาสังคมไทย

พุทธศาสนากับจิตวิทยาสังคมไทย
พระพุทธศาสนาจะเยียวยาโลกในช่วงวิกฤตนี้ ได้หรือไม่?วิกฤตการณ์สิ่งแวดล้อม ซึ่งมีผลกระทบต่อ ทั้งมนุษย์ และ สังคมถือได้ว่า เป็นปัญหายิ่งใหญ่ที่สุด ที่มนุษยชาติกำลังเผชิญอยู่ ในช่วงเปลี่ยนผ่าน สู่ทศตวรรษหน้าที่กำลังมีการศึกษา ถึงรูปแบบต่างๆ ในการพัฒนาแบบยั่งยืนอยู่ ซึ่งเรื่องนี้คงจะไม่สำเร็จแน่ หากไม่มีการเปลี่ยนวิธีคิดขั้นพื้นฐาน อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ กล่าวไว้ว่า 'เราจำต้องมีวิธีคิดแบบปฏิรูปอย่างถึงโคน มนุษยชาติจึงจะอยู่รอดต่อไปได้ได้มีการพยายามส่งเสริม 'วิธีคิดแบบใหม่' ในช่วงของการรณรงค์ต่อต้านสงครามนิวเคลียร์ จากภาวะวิกฤตทางสิ่งแวดล้อม ซึ่งแท้จริงเป็นวิกฤตของมนุษยชาติเองด้วย วิธีคิดแบบใหม่ก็เป็นสิ่งที่จะต้องคำนึงถึง หรืออาจจะจำเป็นมากกว่าด้วยซ้ำ ส่วนมาก รูปแบบของวิธีคิดในปัจจุบันมักจะตกอยู่ใต้อิทธิพล ของแนวคิดแบบบริโภคนิยม และอรรถประโยชน์นิยม ซึ่งนั่นจะนำไปสู่ความขัดแย้งระหว่างอุปาทานด้านทรัพยากรอันจำกัด กับอุปสงค์ ทางการบริโภควัตถุ อันไม่มีที่สิ้นสุดอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ อาการปรากฎ ของความขัดแย้ง นี้ก็คือ ความเครียด ความรุนแรง สงคราม วิกฤตการณ์ทางสังคมและสิ่งแวดล้อม นิตยสารไทม์ฉบับเมื่อเร็วๆ นี้ได้นำเอาปัญหาเรื่อง การค้าประเวณี และการละเมิดสิทธิเด็ก ขึ้นหน้าปก และได้รายงานว่า มีผู้หญิงและเด็กอย่างน้อย 30 ล้านได้ถูกขายตัวไปอยู่ ในวงการเพศพาณิชย์ นี้เป็นแค่ส่วนเล็กน้อย ของวิกฤตการณ์ทางศีลธรรม อันมีสาเหตุมาจากอารยธรรมปัจจุบัน ของมนุษยชาติ
การพัฒนาด้านจิตวิญญาณของสังคมไทยวิกฤตการณ์ทางจิตวิญญาณ คือรากเหง้าแห่งปัญหาความเจ็บป่วยที่ปรากฎออกมาเหล่านี้ ขณะที่ทรัพยากรทางจิตวิญญาณ าได้มีอยู่จำกัดไม่ เราสามารถแสวงหาความสุขได้ และจะยิ่งได้รับความสุขในระดับที่สูงขึ้นและลึกซึ้งยิ่งขึ้น หากมีการบริโภคทางวัตถุแต่น้อยเป็นที่ชัดเจนว่า มิติด้านวัตถุและจิตวิญญาณไม่อาจแยกขาดจากกันได้และการผสมผสานกันในระดับสัดส่วนที่พอเหมาะ การแสวงหาความสุขด้านวัตถุโดยละเลยความสุขทางจิตวิญญาณ จะนำไปสู่ความต้องการการตอบสนอง ทางวัตถุอันไม่มีที่สิ้นสุด เพราะความพอใจต่อการสนองความต้องการทางวัตถุในระดับหนึ่งจะอิ่มตัวอย่างรวดเร็วและจะเป็นต้นตอของความอยากยิ่งขึ้นไปอีก ในทางตรงกันข้าม ความสุขทางจิตวิญญาณจะทำให้ความต้องการทางวัตถุลดน้อยลง คงไม่ต้องสงสัยว่าความคิดทางจิตวิญญาณเป็นสิ่งที่จะสามารถเยียวยาวิกฤตการณ์ทางสังคมได้ คำถามอยู่ที่ว่าจะทำได้อย่างไร? เมื่อพิจารณาถึงปรากฏการณ์ที่กำลังปรากฎอยู่ในเวลานี้พระพุทธศาสนาเรียกอีกอย่างได้ว่าเป็น "มัชเฌนธรรม" เพราะทั้งไม่อยู่ข้าง อัตตกิลมถานุโยค หรือการทรมานตนเองด้วยวิธีการต่างๆ ซึ่งรวมทั้งการบริโภคน้อยเกินไปหรือไม่อยู่ข้าง กามสุขัลลิกานุโยค หรือการเสพติดสุขทางเนื้อหนัง ที่ชัดเจนอย่างยิ่งก็คือ พระพุทธศาสนาเน้นการพัฒนาด้านจิตวิญญาณแต่เมื่อพระพุทธศาสนาไม่มีความเชื่อเรื่องพระ เจ้าแล้วจิตวิญญาณของพระพุทธศาสนาคืออะไร? ความเป็นอิสระจากความยึดมั่นถือมั่นในตัวตนเป็นอุดมคติของพระพุทธศาสนา นิพพานหรือภาวะการดับสิ้นโลภะโทสะและโมหะเป็นเป้าหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา การพัฒนาทางจิตวิญญาณทีละน้อยในทุกระดับ ไม่ว่าเร็วหรือช้าก็เป็นการสร้างพลังความเข้มแข็งได้เสมอความก้าวหน้าทางจิตวิญญาณสัมพันธ์กับการลดลงหรือหมดสิ้นไปแห่งทุกข์และมีความสุขเพิ่มมากยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นความสุขนั้นเกิดขึ้นจากความหายไปของความเห็นแก่ตัว และความยึดมั่นถือมั่นในตัวอันจะช่วยเอื้ออำนวยผลดีแก่บุคคลอื่นๆ ด้วยเช่นกันความก้าวหน้าทางจิตวิญญาณเกิดขึ้นได้จากบุญกิริยาวัตถุ 3 ซึ่งเป็นข้อปฏิบัติสำหรับฆราวาส อันประกอบด้วย ทานมัย (การให้) สีลมัย การประพฤติตามหลักธรรม) และภาวนามัย (การพัฒนาทางจิตใจ, สัมมาสมาธิ)
อิทธิพลพระพุทธศาสนาต่อจิตวิญญาณสังคมไทย เนื่องจากประเทศไทย ก็ตกอยู่ในภายใต้อิทธิพลของวัตถุนิยม เมื่อจะพิจารณาถึงพระพุทธศาสนาและความคิดเรื่องจิตวิญญาณของสังคมไทยเราจำเป็นจะต้องมองย้อนไปที่ภูมิหลังสักเล็กน้อยประเทศไทยเป็นเมืองพุทธในทุกๆ ลักษณะ ทั้งในแง่รูปแบบและโครงสร้างในประเทศที่ค่อนข้างเล็กนี้ เรามีวัดอยู่มากกว่า ๓๐,๐๐๐ วัด มีพระมากกว่า ๒๕๐,๐๐๐ รูป สามเณร ๑๐๐,๐๐๐ รูป และกล่าวกันว่าร้อยละ ๙๐ ของประชากรนับถือศาสนาพุทธ นับแต่ยุคต้นๆ ประวัติศาสตร์ของประเทศ พระเจ้าแผ่นดินทุกพระองค์ล้วนทรงเป็นพุทธมามกะ ก่อน กระบวนการทำให้ทันสมัย พระพุทธศาสนายังมีบทบาทสำคัญในสังคมไทย โครงสร้างทางสังคม ยังเป็นชุมชนเกษตรกรรมเสียเป็นส่วนมาก วัดเป็นศูนย์กลางของชุมชนทั้งในด้านการศึกษา การรักษาพยาบาล วัฒนธรรมและความคิดทางจิตวิญญาณ สังคมเช่นนี้ สามารถดำรงอยู่ได้เอง เป็นระยะเวลายาวนานโดยไม่ต้องพึ่งพารัฐและรัฐบาล และรัฐเองก็ยังไม่ได้เป็นผู้กำหนดทิศทางนโยบายทางเศรษฐกิจให้ ชุมชนต่างๆ ก็ได้รับการช่วยเหลือจากพระพุทธศาสนาให้อยู่ใภาวะสมดุลได้มากบ้างน้อยบ้างตามสมควรถึงแม้ว่าฆราวาสชนจะไม่ค่อยมีการศึกษาคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาอย่างลึกซึ้งนัก พวกเขาก็ยังได้รับอิทธิพล ผ่านวัฒนธรรมทางวัตถุต่างๆ ที่เนื่องด้วยความคิดทางจิตวิญญาณ อันปรากฎอยู่ทุกๆ ที่ ทั้งที่เป็นวัด พระพุทธรูปและพระเจดีย์ การทำบุญตักบาตรทุกเช้าและประเพณีพิธีกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวกับพระสงฆ์และวัดในชีวิตประจำวันล้วนมีความหมายในด้านการยกระดับทางจิตวิญญาณ ไม่ต้องสงสัยเลยว่า การปฏิบัติสัมมาสมาธิได้ช่วยให้ปัจเจกบุคคลหลุดพ้นมามากแล้วและพวกเขาก็ได้บรรลุซึ่งอุดมคติสูงสุดของพระพุทธศาสนาในด้านจิตวิญญาณพระพุทธศาสนาที่เข้มข้นรวมทั้งวัฒนธรรมท้องถิ่นได้มีอิทธิพลต่อการก่อร่างบุคลิกของคนไทย
แม้ว่าบุคลิกภาพของคนไทยจะมีลักษณะผสมผสาน แต่ในบางลักษณะก็อาจคุยได้เป็นบุคลิกภาพที่โดดเด่นและเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ บุคลิกภาพของคนไทย โดยทั่วๆ ไปจะประกอบด้วยความเมตตา ความเป็นมิตร และความไม่ยึดติดหรือความปรับตัวยืดหยุ่น ไม่เคยเลยที่คนไทยจะถูกมองว่า เป็นพวกมีความคิดแบบแยกพรรคแยกพวก ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว เกียรติศัพท์เรื่องการมีไมตรีจิตมิตรภาพและความเปิดเผยในด้านวัฒนธรรมก็เป็นที่รู้จักกันดีของคนทั่วไป ศาสนาอื่นๆ เช่นศาสนาฮินดู อิสลามซิกซ์และ คริสต์ ซึ่งถึงแม้จะมีความขัดแย้งที่ต้องเผชิญในการเผยแพร่ทั่วไปในที่พุทธมามกะได้ทรงดำรงพระองค์ในฐานะเป็นองค์เอกอัครศาสนูปถัมภกส่งเสริมให้คนจากลักทธิศาสนาต่างๆ กันสามารถอยู่ร่วมกันโดยสันติในสังคมไทยประเทศไทยสามารถผ่านพ้นวิกฤตการณ์สำคัญ ๒ ประการ ซึ่งไม่ใช่เป็นเพราะโชคช่วย หากเป็นเพราะคุณูปการ จากบุคลิกภาพของคนไทยที่ได้รับอิทธิพล มาจากความคิดทางจิตวิญญาณของพระพุทธศาสนาประการแรก คือ ลัทธิล่าอาณานิคมของตะวันตก ซึ่งได้ครอบงำประเทศเพื่อนบ้าน ทุกประเทศ ยกเว้นประเทศไทย ประการต่อมา คือ การแพร่ขยายของลัทธิคอมมิวนิสต์ในภูมิภาคนี้ ตามทฤษฎีโดมิโน ประเทศไทย ไม่น่าจะรอดพ้น ไปได้แต่เรา ก็สามารถผ่านพ้นมาได้และทำได้ อย่างงดงามด้วย อดีตพลพรรคคอมมิวนิสต์ เป็นจำนวนมากหรือโดยทางปฏิบัติ แทบจะทั้งหมด ล้วนได้รับการยอมรับ กลับเข้าสู่สังคม และดำรงชีวิตอย่างมีเกียรติ บางท่านก็เป็นนักวิชาการ และท่านอื่นๆ ประสบความสำเร็จในภาคธุรกิจ บางทีสิ่งนี้อาจไม่เกิดขึ้นในประเทศอื่นนอกจากประเทศไทยความปรับตัวยืดหยุ่นซึ่งได้รับ อิทธิพล จากความคิดทางจิตวิญญาณของพระพุทธศาสนา จะต้องมีสำคัญในผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นนี้
การเปลี่ยนแปลงทางสังคมกับผลกระทบต่อจิตวิญญาณสังคมไทยประเทศไทยกำลังเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว กระบวนการทำให้ทันสมัยส่งผลให้ช่องว่างทางสังคมแผ่กว้าง ออกไปทุกขณะ สังคมชนบทกำลังล่มสลาย ขณะที่ในเมืองเกิดการกระจุกตัว เกิดอาชญากรรม การฉ้อราษฎร์บังหลวง การ ค้าประเวณี การละเมิดสิทธิเด็ก โรคเอดส์ วิกฤตการณ์ทางสิ่งแวดล้อม ทำไมพระพุทธูศาสนาไทยและความคิดทางจิต วิญญาณจึงไม่สามารถป้องกันไม่ให้เกิดวิกฤตการณ์ทางศีลธรรมได้ล่ะ ? การเข้ามาของลัทธิวัตถุนิยมที่ท่วมทันโลก ได้มี พลังอย่างรุนแรงและเป็นไปอย่างค่อนข้างฉับพลัน ส่งผลไปในทางปฏิบัติ จนไม่มีสังคมใดจะสามารถต้านทานมันได้ ปัจจัยภายในที่สำคัญที่สุด ซึ่งได้ทำให้ขึดความสามารถในการจัดการกับปัญหาของพระพุทธศาสนาเถรวาทไทยลดลง คือ การขาดการเรียนรู้อย่างเหมาะสม เรามีบทเรียนทางประวัติศาสตร์ หลายครั้งแล้วว่า ปัจเจกบุคคลหรืออารยธรรมใดที่ขาด ความสามารถในการเรียนรู้ย่อมจะเสื่อมสลายไปพระพุทธศาสนาผ่านทางจารีตประเพณี ซึ่งนั่นอาจจะเพียงพอสำหรับสถาน การณ์ที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว แต่ในสังคมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เราจำต้องมีการเรียนรู้ที่เหมาะสมด้วย ภายหลังจากรัฐได้แยกการศึกษาออกจากวัด (Secularization) เมื่อประมาณ ๑๐๐ ปีที่แล้ว ทั้งระบบปริยัติศึกษาและ การศึกษาในระบบโรงเรียนได้กลับกลายเป็นปัญหาขึ้นมา การศึกษาของคณะสงฆ์จะเน้นที่การแปลคัมภีร์ภาษาบาลีเป็น หลักโดยละเลยที่จะศึกษาให้เกิดความเข้าใจในหลักธรรมและการนำไปประยุกต์ใช้ในสังคมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การศึกษาในระบบโรงเรียนได้ละเลยการทำความเข้าใจและความซาบซึ้งในแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาไปมาก ความอ่อนแอในกระบวนการเรียนรู้เหล่านี้ได้ส่งผลให้จิตวิญญาณของพุทธศาสนิกในสังคมไทยลดน้อยลง
กระแสการพัฒนาด้านจิตวิญญาณในอนาคต ในท่ามกลางความมืดมนก็พอมีแสงสว่างอยู่บ้าง ดังรายละเอีด ๕ ประการ ที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้ ๑. การอุบัติขึ้นของนักปราชญ์พุทธไทยสองท่าน ได้มีนักปราชญ์ทางพระพุทธศาสนาองค์สำคัญยิ่ง เกิดขึ้นในสังคม ร่วมสมัย ๒ ท่านคือ ท่านแรก คือ ท่านพุทธทาสภิกขุ ท่านได้อธิบายคำสอน ทางพระพุทธศาสนา ขึ้นมาให้ด้วยปัญญาญาณ และความ กล้าหาญอันสูงส่ง บทบาทของท่านมีความสำคัญเทียบเท่า หรือจะมากกว่าบทบาทของพระพุทธโฆษาจารย์นักปราชญ์ชาว อินเดียผู้มีชื่อเสียงเมื่อพันปีที่แล้ว อีกท่านหนึ่งคือ พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตโต) ผู้ซึ่งได้จัดแจงเรียบเรียงหลักพุทธธรรมอย่างเป็นระบบ ใน ลักษณะที่คนร่วมสมัยจะเข้าใจได้ง่าย ผลงานของปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่ทั้งสองท่านได้กระตุ้นให้เกิดกระแสการเรียนรู้มากขึ้น ทั้ง ในระดับท้องถิ่นและนานาชาติ
๒. ความสนใจในการปฏิบัติสมาธิภาวนาแบบพุทธมีมากขึ้น สมาธิภาวนาเป็นองค์ประกอบสำคัญประการหนึ่ง ใน การศึกษาพระพุทธศาสนาการศึกดษาแต่เพียงทฤษฎีอย่างเดียวไม่เพียงพอต่อการที่จะทำให้เกิดความเข้าใตและการพัฒนาได้ ขณะนี้มีแนวโน้มชัดเจนเกี่ยวกับความสนใจในการปฏิบัติสมาธิภาวนาแบบพุทธเพิ่มมากขึ้นในประเทศไทย ประกอบกับ การได้สมาคมกับศูนย์วิปัสสนาที่กำลังก่อตั้งขึ้นในยุโรป อเมริกาและออสเตรเลีย
๓. การนำหลังพระพุทธศาสนาไปประยุกต์ใช้ ในการฟื้นฟูพัฒนาชุมชน และการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เพื่อเป็นการ ขจัดปัญหาทางสังคม และการทำลายสิ่งแวดล้อมในชนบทอันเป็นผลมาจาก การพัฒนาทางเศรษฐกิจ เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา พระคุณเจ้าบางรูป ผู้นำชุมชน องค์กรพัฒนเอกชนนักวิชาการและกระทั้งเจ้าหน้าที่ราชการได้ พยายามประยุกต์หลักพระพุทธศาสนาในการฟื้นฟูพัฒนาชนบทและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมจนปรากฎผลดีหลายประการ หลักการนี้ประกอบด้วยการปฏิบัติธรรม การจัดตั้งองค์กรชุมชน การส่งเสริมเกษตรกรรมธรรมชาติ และการรักษาป่าชุมชน ทั้งหมดที่กล่าวมาเหล่านี้ได้นำไปสู่การกินอยู่ที่ดีขึ้นและการฟื้นคืนมาของวัฒนธรรมชุมชนและสภาพนิเวศวิทยา อาชญา กรรมไม่เกิดขึ้นและสันติสุขกลับคืนมา รูปแบบการฟื้นฟูพัฒนาชุมชนและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมโดยอาศัยหลักธรรมทาง พระพุทธศาสนานี้มีความสำคัญมาก เพราะเป็นการพัฒนาที่ผสมผสานองค์ประกอบที่เกี่ยวเนื่องกัน ๗ ประการ กล่าวคือ เศรษฐกิจ, จิตใจ, สังคม, การเมือง, วัฒนธรรม, สิ่งแวดล้อมและการศึกษา และกำลังมีการดำเนินการให้เกิดการโยงใยเป็น เครือข่ายและแพร่ขยายรูปแบบการพัฒนานี้ออกไปอีก๔. การศึกษาของพระสงฆ์ แม้ว่าจะช้าเกินไปสักหน่อย ความเข้าใจในความสำคัญเกี่ยวกับการปรับปรุงการศึกษา ของพระสงฆ์ได้มีมากขึ้นปัจจุบันมีมหาวิทยาลัยสงฆ์ ๒ แห่งในกรุงเทพฯ คือ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตั้งอยู่ที่วัด มหาธาตุ และมหามกุฎราชวิทยาลัย ตั้งอยู่ที่วัดบวรนิเวศวิหาร ปัจจุบันมหาวิทยาลัยของฆราวาสหลายแห่งมีการจัดการศึกษาพระพุทธศาสนาขึ้นเป็นการภายในและกำลังเตรียม โครงการวิจัยและโครงการบัณฑิตศึกษาในด้านพระพุทธศาสนาขึ้น และที่สวนโมกขพลารามของท่านพุทธทาสภิกขุกำลังมีการวางแผนการอบรมระยะยาวสำหรับการศึกษาพระพุทธศาสนาระดับนานาชาติอย่างเข้มข้น ซึ่งการวิจัยและการศึกษาที่มี คุณภาพเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาจะเป็นการส่งเสริมศักยภาพของพระพุทธศาสนาให้เข้มแข็งขึ้นการช่วยกู้สถานการณ์ของ โลกให้พ้นจากภาวะวิกฤตได้
๕. การยกระดับการศึกษาพระพุทธศาสนาให้เป็นสากล กิจกรรมระดับนานาชาติของการศึกษาพระพุทธศาสนาในแง่ที่เกี่ยวกับงานวิจัยทางวิชาการ การปฏิบัติสมาธิภาวนาและการพัฒนาชุมชนกำลังมีเพิ่มมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด การแลกเปลี่ยนและการสร้างเครือข่ายระดับนานาชาติจะช่วยเปิดทัศนะของชาวพุทธเราให้กว้างขวางยิ่งขึ้น ซึ่งจะเป็นการช่วยเพิ่มพูนศักยภาพของพระพุทธศาสนาในการเข้าไปมีส่วนช่วยเหลือในวิกฤตการณ์ทั้งระดับท้องถิ่นและระดับโลกศูนย์กลางการพัฒนาในด้านเศรษฐกิจของโลก กำลังเคลื่อนผ่านน่านน้ำมหาสมุทรแปซิฟิก มาสู่ทวีปเอเซีย โดยประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนจีนได้รับการคาดหมายว่า จะเป็นประเทศมหาอำนาจภายในศตวรรษหน้านี้ ดังนั้น จึงมีความพยายามร่วมมือกันที่จะผสมผสาน ญาณปัญญาแบบชาวเอเซียซึ่งมีรากฐานจากพระพุทธศาสนา ข้าสู่กระบวนการแห่งพัฒนาการ (ทางเศรษฐกิจ) เพื่อจะนำไปสู่ความยั่งยืนของโลก โดยไม่ทำให้เกิดภาวะวิกฤตดังเช่นการพัฒนาด้านเศรษฐกิจอย่างที่แล้วๆ มา
โดยสรุปแล้ว วิกฤตการณ์โลกปัจจุบันเกิดจากการพัฒนาอย่างไม่สมดุลการพัฒนายังคงเน้นการเจริญเติบโนทางวัตถุมากเกินไปและได้ละเลยการพัฒนาด้านจิตวิญญาณไป พระพุทธศาสนาได้ชี้ให้เห็นถึงแหล่งความรู้ด้านจิตวิญญาณที่ยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่ง ึ่งสามารถนำมาใช้เพื่อฟื้นฟูระบบการพัฒนาให้เกิดความสมดุลเพื่อเยียวยาวิกฤตการณ์ของโลกได้ประเทศไทยเองแม้จะประสบกับภาวะวิกฤตหลายครั้งเราก็ยังมีขุมความรู้ทางจิตวิญญาณ ตามหลักพระพุทธศาสนาที่มีศักยภาพ และจะนำมาใช้ได้ ซึ่งถ้าหากได้รับการเพิ่มพูนให้มีศักยภาพเข้มข้นและมีการนำไปใช้อย่างเหมาะสมแล้วก็จะสามารถช่วยหลีกเลี่ยงวิกฤตการณ์ของมนุษยชาติและสิ่งแวดล้อมได้

จิตวิทยาสังคม

จิตวิทยาสังคม : Social Psychology

จิตวิทยาสังคม หมายถึง การศึกษาพฤติกรรม ความคิด และความรู้สึกของบุคคล หรือปฏิสัมพันธ์ของบุคคลซึ่งเกิดจากความสัมพันธ์กับคนอื่น หรือกลุ่มคน เช่น ศึกษาถึงความรัก ความเกลียด การทำงาน การช่วยเหลือ ความเชื่อถือ การต่อสู้ การสื่อสาร เป็นต้น หรือาจกล่าวได้ว่า จิตวิทยาสังคม คือการศึกษาถึงความคิด ความรู้สึก และพฤติกรรมของบุคคล ซึ่งได้รับอิทธิพลจากบุคคลอื่นหรือสังคม ไม่ว่าบุคคลหรือสังคมจะอยู่ร่วมด้วยในขณะนั้น อยู่ในความคิดคำนึง หรืออยู่โดยอ้อมก็ตาม เช่น ต้องการศึกษาว่าเมื่อบุคคลประสบกับเหตุการณ์ที่คน ๆ หนึ่งต้องการความช่วยเหลื่อในขณะที่มีผู้อื่นอยู่ร่วมในเหตุการณ์หลายคน บุคคลนั้นจะช่วยเหลือหรือไม่อย่างไร หรือบุคคลเมื่ออยู่ร่วมกันหลาย ๆคน จะทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งสำเร็จมากกว่าทำโดยลำพังหรือไม่ เป็นต้น จิตวิทยาสังคมประกอบด้วย 3 ขอบข่าย คือ

1. ขอบข่ายเกี่ยวกับปัจเจกบุคคล เป็นการศึกษา ผลสัมฤทธิ์ เจตคติ การอ้างสาเหตุ กระบวนการรับรู้ ความไม่สอดคล้อง ความรู้สึกเกี่ยวกับตน ความเครียด อารมณ์และการกระตุ้น ฯลฯ
2. ขอบข่ายเกี่ยวกับปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล เป็นการศึกษา ความก้าวร้าว ความดึงดูดระหว่างบุคคล การเจรจาต่อรอง การคล้อยตาม การยินยอม ความช่วยเหลือ ฯลฯ
3. ขอบข่ายเกี่ยวกับกระบวนการกลุ่ม เป็นการศึกษากระบวนการกลุ่ม ความแออัดของสมาชิกกลุ่ม ระยะห่างระหว่างบุคคล อาชญากรรม ฯลฯ

ในหลายกรณี กลุ่มหรือสังคมมีอิทธิพลต่อความคิด ความรู้สึกและพฤติกรรมของบุคคลเป็นอย่างยิ่ง ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงหรือการปฏิวัติอย่างที่คาดไม่ถึง เช่น เหตุการณ์วันที่ 14 ตุลาคม 2516 หรือ 25 พฤษภาคม 2535 เป็นต้น

คำยินดี