วัตถุประสงค์ของบล็อกนี้

เพื่อประกอบการเรียนการสอนรายวิชาอินเตอร์เน็ตเพื่อการสื่อสารในชีวิตประจำวัน และเป็นเเหล่งรวบรวมความรู้ต่างๆที่น่าสนใจ

วันอังคารที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ปัญหาสังคม

ปัญหาสังคมไทยและแนวทางการแก้ไข
เขียนโดย: admin เมื่อ: 2010-08-14 13:08:34 จำนวนคนอ่าน: 99756




ลักษณะปัญหาสังคม พอสรุปลักษณะปัญหาสังคมได้ดังนี้
เป็นสภาวการณ์ที่มีผลกระทบกระเทือนต่อคนเป็นจำนวนมาก
เป็นสิ่งที่คนส่วนใหญ่พิจารณาว่าเป็นสภาวะการณ์ที่ไม่พึงปรารถนา
ปัญหาสังคม จะเปลี่ยนแปลงไปเมื่อค่านิยมหรือการตีความในแบบแผนพฤติกรรมแตก
ปัญหาสังคมย่อมผันแปร “ไปตามกาลเวลา”
ปัญหาสังคมย่อมมีผลมาจากนโยบายของรัฐหรือจากพฤติกรรมสังึมที่มิได้คาดคิดล่วงหน้าไว้ก่อน
บุคคลมีชนชั้นทางสังคมที่แตกต่างกัยย่อมมีความคิดเห็นการแก้ปัญหาสังคมที่แตกต่างกันทุกคนยอมรับการแก้ปัญหาสังคมที่เป็นประโยขน์แก่ตัวเองมากที่สุด
1. ปัญหายาเสพติด
2. ปัญหาความยากจน
3. ปัญหาโรคเอดส์
4. ปัญหาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
5. ปัญหาด้านการศึกษา
6. ปัญหาครอบครัว
7. ปัญหาความเสื่อมโทรมทางด้านจิตใจและศีลธรรม
8. สุขภาพอนามัย
9. ปัญหากลุ่มผู้ด้อยโอกาส

สังคมไทยในปัจุบันมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก ผู้คนในสังคมมีการเบี่ยงเบนความสัมพันธ์ไปจากเดิม และสถาบันทางสังคมก็ทำหน้าที่ไม่ครบสมบูรณ์ สิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยพื้นฐานที่ทำให้เกิดปัญหาสังคม ปัญหาสังคมไทยมีอยู่มากมาย ดังนี้
1.ปัญหายาเสพติด กำลังระบาดในหมู่เยาวชน ปัจจุบันนี้ประเทศไทยมีคนติดสิ่งเสพติดมากกว่าสองล้านคน ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มเยาวชน สารเสพติดที่ระบาดในประเทศไทย เช่น ฝิ่น กัญชา เฮโรอีน และแอมเฟตามีน ซึ่งในประเทศไทยมีแนวโน้มขยายตัวมากขึ้นด้วยมีการลักลอบนำเข้ามายังบริเวณชายแดนใต้และภาคเหนือของไทย
แนวทางการป้องกันและแก้ไข
1.1 ภาครัฐ จะต้องส่งเสริมมาตรการป้องกันยาเสพติด เช่นการให้ความรู้ข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาสิ่งเสพติดกับประชาชนอย่างทั่วถึง โดยวิธีต่างๆไม่ว่าจะเป็นสื่อทางโทรทัศน์ วิทยุ หรือผ่านหลักสูตรการสอนในสถานบันศึกษา นอกจากนี้ภาครัฐยังควรออกมาตรการเพื่อบำบัดรักษาให้ผู้ที่ติดสิ่งเสพติดหยุดเสพให้นานที่สุดจนสามารถเลิกได้โดยเด็ดขาด ซึ่งเป็นการลดปัญหาความเดือนร้อนและยังสมมารถการแพร่กระจายของสิ่งเสพติดได้
1. 2 ภาคเอกชน ต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการรณรงค์ช่วยเหลือผู้ติดยาเสพติดให้ลดละเลิกการใช้สิ่งเสพติด รวมทั้งจัดกิจกรรมสันทนากานต่างๆให้กับเยาวชนและผู้ที่เป็นกลุ่มเสี่ยงได้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ และห่างไกลจากยาเสพติด
1.3 ภาคประชาชน ให้ความร่วมมือกับภาครัฐในการสอดส่องดูแลไม่ให้เกิดการระบาดของสิ่งเสพติด โดยเฉพาะครอบครัวจะต้องให้ความรักและความอบอุ่นกับสมาชิกในครอบครัว โดยพ่อแม่ต้องถือว่าสิ่งนี้เป็นความรับผิดชอบต่อสังคมด้วย
ผลเสียของผู้ติดยาเสพติดให้โทษ
1. ผลเสียทางร่างกายและจิตใจ ร่างกายอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร นอนไม่หลับ อารมณ์หงุดหงิด โกรธง่าย ฟุ้งซ่าน
2. ผลเสียทางสังคม ผู้ติดยาเสพติดไม่คำนึงถึงกฎระเบียบของสังคม ชอบละเมิดกฎระเบียบ ผู้ติดยาเสพติดเป็นที่รังเกียจของสังคม เป็นผู้ทำลายชื่อเสียงวงศ์ตระกูล
3. ผลเสียทางเศรษฐกิจ ผู้ติดยาเสพติดส่วนใหญ่อยู่ในวัยแรงงาน ติดยาเสพติดแล้วไม่ชอบทำงาน อ่อนแอ ทำให้สูญเสียแรงงาน การผลิตของประเทศลดลง รายได้ของประเทศลดลง นอกจากนั้นรัฐยังต้องสูญเสียงบประมาณจำนวนมากในการรักษาพยาบาลผู้ติดยาเสพติด
2.ปัญหาเด็กและเยาวชน
ปัญหาเด็กและเยาวชนในสังคมไทยเป็นปัญหาที่สำคัญและมีความหลากหลาย เช่น เด็กเร่ร่อน ปัญหาเด็กติดยาเสพติด มั่วสุมตามสถานที่บันเทิง และปัญหาเหยื่อของโฆษณาทำให้เป็นผู้บริโภคนิยม เป็นต้น
แนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหา
2.1 พ่อแม่จะต้องมีความรับผิดชอบต่อสมาชิกในครอบครัว โดยให้ความรักความอบอุ่นกับสมาชิกในครอบครัว และพร้อมทั้งส่งเสริมการเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆของ บุตรหลาน
2.2 โรงเรียนและชุมชน ต้องส่งเสริมการจัดเวลา รวมทั้งพื้นที่ให้เด็กและเยาวชนไดแสดงศักภาพความสามารถตามความสนใจและความต้องการตามวัย
2.3 หน่วยงานของรัฐและเอกชน ต้องมีการเร่งรัดการจัดบริการนันทนาการให้เข้าถึงเด็กและเยาวชน
2.4 สื่อมวลชน ควรสนับสนุน เผยแพร่กิจกรรมความดี ความสามารถของเด็ก เพื่อเด็กจะได้มีความภาคภูมิใจในการทำงานกิจกรรมต่างๆ
3.ปัญหาทุจริตคอร์รัปชั่น
ปัญหาทุจริตคอร์รัปชั่นเป็นปัญหาที่อยู่ในสังคมไทยมาเป็นเวลานาน และนับวันยิ่งรุนแรงมากยิ่งขึ้น ปัญหาคอร์รัปชั่นทำให้ประเทศชาติต้องสูญเสียงบประมาณที่ต้องนำมาใช้ในการพัฒนาประเทศชาติเป็นเวลามหาศาล เช่น การทุจริตของข้าราชการบางคนในการจัดซื้อวัสดุเพื่อนำมาสร้างถนน ทำให้ได้วัสดุที่ไม่มีคุณภาพแต่ราคาสูง ซึ่งส่งผลกระทบต่อประชาชนโดยตรงเพราะประชาชนต้องใช้ถนนในการสัญจร หากถนนไม่ดี ชำรุด หรือทรุดตัวก็จะทำให้ประชาชนเดือดร้อนเกิดอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สินได้
แนวทางการแก้ไขปัญหา
3.1 ปลูกฝังค่านิยมที่ดีให้กับเยาวชนใสังคม โดยผู้ใหญ่ควรเป็นแบบอย่างที่ดีและปลูกฝังเยาวชนให้เห็นแก่ประโยชน์ส่วนร่วมเป็นสำคัญ
3.2 ภาครัฐควรรณรงค์ให้คนในสังคมรังเกียจการทุจริต เน้นความซื่อสัตย์ และความภาคภูมิใจในศักดิ์ศรีของตนเอง
3.3 กฎหมายไทย ควรมีบทลงโทษทางสังคมต่อผู้ที่กระทำการทุจริตอย่างเข้มงวด เพื่อไม่ให้มีการใช่ช่องโหว่ทางกฎหมายในการช่วยเหลือพวกพ้องให้พ้นผิด
3.4 คนในสังคมจะต้องให้ความร่วมมือ และให้การสนับสนุนองค์กรที่ทำหน้าที่ตรวจสอบและขจัดการทุจริต เช่น สำนักงานคณะกรรมการป้องกันการปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เป็นต้น
3.5 สื่อมวลชนต้องให้ความสนใจในการติดตามการดำเนินงานของรัฐ และเปิดโปงปัญหาที่เกิดขึ้นให้สังคมได้รับรู้ เพื่อให้ประชาชนทราบว่าปัญหานี้เป็นอันตรายต่อสังคมมากเพียงใด
ผลเสียของการคอรัปชั่น
1. ด้านรัฐ ทำให้เกิดการผูกขาด ข้าราชการจะติดต่อซื้อขายกับพรรคพวกของตนหรือผู้ที่ให้ผลประโยชน์ต่อตนเอง เท่านั้น ทำให้สินค้าแพงกว่าความเป็นจริง วัสดุสิ่งของคุณภาพต่ำ ทำให้เกิดกลุ่มผลประโยชน์ในวงราชการ ใช้สถานที่ราชการหากินในทางไม่สุจริต
2. ด้านข้าราชการ ทำให้ข้าราชการที่ซื่อสัตย์สุจริตหมดกำลังใจในการทำงาน ถ้าผู้บังคับบัญชาร่วมกับลูกน้องใกล้ชิดกระทำการคอรัปชั่นด้วยแล้ว ข้าราชการที่สุจริตย่อมอยู่ในวงราชการยากเพราะจะโดนกลั่นแกล้งตลอดเวลา
3. ด้านประชาชน ประชาชนเสื่อมศรัทธาข้าราชการ เพราะข้าราชการที่คอรัปชั่นจะทำให้ข้าราชการที่ซื่อสัตย์พลอยเสียชื่อเสียง เกียรติยศ ไปด้วย
4 ปัญหาความยากจน
ความยากจน คือ สภาพการดำรงชีวิตของบุคคลที่มีรายได้ไม่พอกับรายจ่าย ไม่สามารถจะหาสิ่งจำเป็นมาสนองความต้องการทางร่างกาย และจิตใจได้อย่างเพียงพอ จนทำให้บุคคลนั้นมีสภาพความเป็นอยู่ที่ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่สังคมวางไว้ ความยากจนขึ้นอยู่กับมาตรฐานของแต่ละสังคม

ผลเสียของความยากจน
1. ผลเสียต่อบุคคลและครอบครัว ทำให้บุคคลสูญเสียบุคลิกภาพที่ดี ครอบครัวขาดเครื่องอุปโภคบริโภคที่จำเป็นแก่การดำรงชีพ ไม่สามารถจะส่งบุตรหลานเล่าเรียนได้เท่าที่ควร
2. เป็นภาระแก่สังคม สังคมต้องอุ้มชู ดูแลคนยากจน ทำให้ประเทศชาติไม่สามารถจะทุ่มเทการพัฒนาได้
3. ทำให้เศรษฐกิจ สังคม และการเมืองไม่มั่นคง ประเทศที่มีคนยากจนมากก็ไม่สามารถจะพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมและการเมืองได้ ทำให้เศรษฐกิจ สังคมและการเมืองของประเทศไม่มั่นคง

5. ปัญหาโรคเอดส์
โรคเอดส์ (AIDS : Aequired Deficency Syndrome) แพร่มาสู่ประเทศไทยจากประเทศตะวันตก ประเทศไทยได้รับอันตรายจากโรคเอดส์รุนแรงขึ้น โรคเอดส์เกิดจากสาเหตุที่สำคัญ เช่น การสำส่อนทางเพศ การใช้ เข็มฉีดยาร่วมกัน การถ่ายเทเลือดที่ขาดความระมัดระวัง ปัจจุบันยังไม่มียารักษาโรคเอดส์ ผู้ป่วยจะต้องเสียชีวิตทุกราย ประเทศไทยต้องสูญเสียงบประมาณจำนวนมากในการรักษาผู้ป่วยโรคเอดส์ ซึ่งเป็นบุคคลที่สังคมรังเกียจ
ปัญหาพื้นฐานของประเทศไทยใน ๕ ประเด็นหลักในปัจุบันเร่งด่วนแก้ไข

๑ การศึกษาโดยเฉลี่ยของคนไทยต่ำกว่ามาตรฐาน
๒ การถูกฝึกให้เชื่อฟังผู้นำ ไม่ได้ถูกฝึกให้ใช้สติตนเอง
๓ การขาดจิตสำนึกเพื่อส่วนรวม
๔ ปัญหาหนึ่งที่หยั่งรากลึกในสังคมไทย คือ "สังคมไทยเป็นสังคมพวกพ้อง และมีลักษณะเป็นระบบอุปถัมภ์"
๕ ปัญหาของระบบทุนนิยม

แนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาสังคมไทย
1รัฐบาลควรออกระเบียบ กฎเกณฑ์ และกฎหมาย เพื่อกำหนดมาตรการการป้องกัน และปราบปรามผู้กระทำผิดอย่างจริงจังและแน่นอน
2 วางแผนและนโยบายการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น โดยร่วมมือกับภาคเอกชนเพื่อรณรงค์และอนุรักษ์
3 ให้การศึกษาแก่สมาชิกในสังคมเพื่อให้เกิดความรู้และความเข้าใจในปัญหาต่าง ๆ ให้มากขึ้น
4 ปรับปรุงและพัฒนาสังคมให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
5. พัฒนาเศรษฐกิจทั้งด้านเกษตรกรรม อุตสาหกรรม และการบริการให้ดีขึ้น
6. พัฒนาสังคม สร้างค่านิยม และรณรงค์ให้ประชาชนร่วมมือในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น
7 ให้การศึกษาแก่ประชาชนให้ทั่วถึงและสูงขึ้น การศึกษาเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตของมนุษย์ให้สูงขึ้น รัฐจึงควรทุ่มเทงบประมาณในการให้การศึกษาแก่ประชาชน
8 รัฐต้องจัดสวัสดิการที่ดีให้แก่ประชาชน ต้องจัดให้ประชาชนมีการศึกษาที่ดีและมีงานทำทุกคนเพื่อ เป็นหลักประกันของชีวิต ควรจัดให้มีการประกันสังคมโดยทั่วถึง
9 พัฒนาเศรษฐกิจอย่างเหมาะสมกับประเทศ โดยพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อส่วนรวม กระจายรายได้สู่ชนบทมากขึ้น พยายามลดช่องว่างระหว่างคนจนกับคนรวยให้อยู่ในระดับเดียวกัน
10 มีการพัฒนาสังคมให้เหมาะสม โดยเฉพาะระดับครอบครัว ซึ่งเป็นสถาบันที่สำคัญต้องพัฒนาก่อนสถาบันอื่น ๆ ควรสร้างค่านิยมที่ดีให้กับเด็ก เช่น ให้มีความซื่อสัตย์ ขยัน ใฝ่ศึกษา ไม่เห็นแก่เงิน ชอบศึกษาค้นคว้า ฯลฯ รัฐต้อง พัฒนาบุคคลให้มีคุณธรรม จริยธรรม ดำเนินชีวิตในครรลองแห่งจริยธรรม คุณธรรม หรือตามหลัก
ปัญหาสังคมที่เกิดขึ้นในปัจจุบันนั้นก็มีความรุนแรงในหลายๆระดับซึ่งมีผู้กระทำผิดที่แต่งต่างกันออกไป และยังเป็นสาเหตุของปัญหาต่างๆได้ดังที่กล่าวมาแล้ว โดยมากเรามักจะมาเน้นในเรื่องของปัญหาอาชญากรรม ปัญหาการล่วงละเมิดต่างๆ ปัญหาครอบครัว ปัญหาความเครียด ฯลฯ และหาทางแก้ไขจากปลายเหตุ ส่วนปัญหาสังคมอื่นๆก็ได้แก่ ปัญหาสิทธิส่วนบุคคล ปัญหาการจำกัดสิทธิ ปัญหาทางเศรษฐกิจสังคมซึ่งก่อให้เกิดปัญหาความเครียดและการกดดัน ปัญหาทางด้านการศึกษาเหล่านี้เป็นต้นซึ่งไม่ได้รับความสนใจมากเท่ากับพวกปัญหาอาชญากรรม

อย่างที่เราทราบกันดีว่า การที่ปัญหาสังคมจะเกิดขึ้นนั้นมันก็เริ่มมาจากคนที่ได้รับความกดดันความกระทบกระเทือนทางจิตใจ แต่อะไรเป็นสาเหตุของความกระทบกระเทือนและความกดดันเหล่านั้นล่ะ นี่จึงเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในการที่เราจะเริ่มต้นแก้ไขปัญหาสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น